มนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ใช้วิธีป้องกันสัตว์ร้ายด้วยใช้สีต่างๆทาตามตัว เช่นสีดำ สีแดงและสีน้ำเงิน
ยุคต่อมานิยมสักลายลงบนตามตัวเพราะไม่ต้องหาสี มาทาบ่อยๆ ลายที่สักมักเป็นรูปสัตว์ทรงพลังอิทธิฤทธิ์ เช่น เสือ สิงโต พญานาค และพญาอินทรี ส่วนจีนยูนนานชอบสักเป็นรูปมังกรหรือตัวอักษรจีน
การสักลายตามตัวเริ่มแพร่ขยายลงมายังอาณาจักรล้านนา ล้านช้าง ลาว พม่า ไทยอีสานหลังจากพระพุทธเจ้า เสด็จสู่ปรินีพพานไป 100 ปี
ไทยอีสานโบราณชอบสักเป็นรูปสัตว์ต่าวๆ แล้วยังสักตัวอักขระตามข้อมือ ท้องมือ หน้าอก และขาสองข้าง บางคนสักตามแผ่นหลังหรือหน้าอกขึ้นไปถึงคอหอย จนมีคำกล่าวกันว่า "นั่งอยู่กลางไร่ก็สามารถจับนกมาทำกินได้ เพราะนกคิดว่าหัวตอจึงบินมาเกาะ"
เครื่องมือการสัก ใช้เหล็ปลายแหลม 5-6 ซี่ มัดรวมกันจุ่มหมึกสีดำเขม่าขี้ดินหม้อปนกับ ใบมันสำปะหลัง บางครูสักก็ใช้ดีหมี ,ดีหมู ,ดีควายหรือดีปลาช่อน เพระาถือว่าลบล้างออกยาก
เวลาสักถ้าเจ็บปวดมากจนทาไม่ไหวก็หยุดไว้ก่อน ประมาณ 2 อาทิตย์ ให้แผลหายจึงสักต่อจนเสร็จ
รอบสักก็เลือกได้ตามความต้องการเช่น พญานาค เสือโคร่ง รูปเจดีย์ หรือยันต์ ค่าจ้างสมัยก่อนไม่แพง สักที่ขา คิดข้างละ 1 สลึง ถ้า 2 ขาก็เป็น 2 สลึง ถ้าอักขระตัวเดียวเสียครึ่งสลึง ถ้าสักแผ่นหลังหรือหน้าอกเสีย 1 ตำลึงถ้าไม่มีเงินจ้างเอาลูกหมูหรือไก่สักตัวแทน ครูก็ไม่ว่าสักเสร็จแล้วครูจะเป่ามนต์คาถาใส่รอยสักเสียงพึมพำ
ขอขอบคุณ : นิตยสารศิลปวัฒนธรรม
|